นวัตกรจิตอาสาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมสีเขียวด้วยการท่องเที่ยวยั่งยืนตามแนวคิด BCG
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้เข้าร่วมกิจกรรมการประกวดคลิปวิดีโอผลงานการนำนวัตกรรมสู่ชุมชน ตอบแทนสังคม ในรูปแบบจิตอาสา ตามศาสตร์พระราชา ภายใต้โครงการ นวัตกรจิตอาสา เครือข่ายราชมงคล ชิงโล่รางวัล จาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมเงินรางวัลรวมมากกว่า 30,000 บาท ภายใต้แนวคิด “โชว์ เชื่อม แชร์ : แหล่งเรียนรู้ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ” โดยคณะศิลปศาสตร์ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทนวัตกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวเพื่อความยั่งยืน นวัตกรจิตอาสาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมสีเขียวด้วยการท่องเที่ยวยั่งยืนตามแนวคิด BCG และมอบรางวัลในงานตลาดนัดความดีเชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคม เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้า ฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา
นวัตกรจิตอาสาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมสีเขียวด้วยการท่องเที่ยวยั่งยืนตามแนวคิด BCG ตำบลต้นตาล จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ ศูนย์สุพรรณบุรี จำนวน 5 คน ได้แก่ นางสาวสุทัตตา แก้วเฉลิมทอง นางสาวปณิตา ทองโอภาส นางสาวปานไพรินทร์ แก้วสุวรรณ์ นางสาวหฤทัย ศรีสุวรรณ นางสาวณิชากรณ์ คงสุวรรณ และอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ธง คำเกิด ซึ่งเป็นการนำองค์ความรู้ที่อยู่ในห้องเรียนเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างถูดจุด โดยแนวความคิดการจะพัฒนาอย่างยั่งยืนเราควรพัฒนาอย่างครบวงจร หลายหลายรูปแบบ เพื่อให้ชาวบ้านและชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง โดยเป็นการพัฒนาและต่อยอดสิ่งแวดล้อมสีเขียวด้วยการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ดังนี้
1. การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย ซึ่งสรรพคุณกล้วยมีส่วนช่วยแก้อาการท้องผูก แก้อาการกรดไหลย้อน และมีไพเบอร์ช่วยในการขับถ่าย โดยการนำกล้วยดิบมาอบผงกล้วยและกล้วยสุกนำไปทำเป็นกล้วยม้วน เพื่อเป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์และสามารถนำไปขายให้เป็นรายได้ให้กับชุมชน
2. การสร้างโปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชน โดยจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวดังนี้
- เรียนรู้วิถีประเพณีชุมชนบ้านต้นตาล
- สัมผัสสายน้ำมีชีวิต ตลาดน้ำสะพานโค้งประติมากรรมสุ่มปลายักษ์
- Slow Life สายเขียวท่องเที่ยวเชิงเกษตร
- สาย ART ศิลปะหัตถสานที่บ้านดินสอ
3. พัฒนาสื่อ Online โดยการจัดทำเว็บไซต์เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้กับบุคคลภายนอกเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชน และการขายสินค้าผ่าน Online เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการขายให้กับชุมชน
4. ปลูกพืชสมุนไพรและแปรรูป เป็นการปลูกพืชสมุนไพรไว้ใช้ในครัวเรือนเพื่อประหยัดรายจ่ายและสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง และเพื่อต่อยอดโครงการสุพรรณบุรีเมืองสมุนไพรซึ่งทางเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีจะดำเนินการจัดและรณรงค์ให้คนในชุมชนปลูกพืชสมุนไพร
ซึ่งการดำเนินนวัตกรจิตอาสาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมสีเขียวด้วยการท่องเที่ยวยั่งยืนตามแนวคิด BCG ตำบลต้นตาล จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจุดเริ่มต้นในการมุ่งมั่นสร้างบัณฑิตต้นแบบที่เป็นนวัตกรจิตอาสา เพื่อนำไปขยายผลจากความเชี่ยวชาญของตนเองไปสู่ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป ซึ่งหากทุกชุมชนมีนวัตกรจิตอาสามาช่วยพัฒนาและเดินควบคู่กันไป สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนในทุกจุดในประเทศไทย ก็จะเกิดความยั่งยืนในทุกชุมชน
การดำเนินการนวัตกรจิตอาสาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมสีเขียวด้วยการท่องเที่ยวยั่งยืนตามแนวคิด BCG เป็นแนวทางในการแนวทางในการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น (SDGs) นับว่าเป็นความร่วมมือที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 17 (Partnerships for the Goals) โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชนต้นตาล จังหวัดสุพรรณบุรี ในการขับเคลื่อนพัฒนาสิ่งแวดล้อมสีเขียวด้วยการท่องเที่ยวยั่งยืนตามแนวคิด BCG ตลอดจนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 4 (Quality Education)
รูปภาพเพิ่มเติม : ไพลิน ฉิมฉวี
Tag : #ศศSDG4.3.2 #ศศSDG4.3.4 #ศศSDG17.2.5
หน่วยงาน : ศิลปศาสตร์
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/watch?v=TLNgTVJ4swE