⚙️การฝึกอบรมพื้นฐาน PLC Siemens และการออกแบบระบบควบคุมระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม

SDG4

     ⚙️การฝึกอบรมพื้นฐาน PLC Siemens และการออกแบบระบบควบคุมระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม

          คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้จัดโครงการบริการทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบหารายได้ คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพื่อสนองประเด็นยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมีความมั่นคงและบริหารจัดการตนเองได้ และประเด็นยุทธศาสตร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยรองรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนจึงได้จัดโครงการอบรมพื้นฐาน PLC Siemens และการออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เพื่อให้บุคคลที่เข้ามาร่วมอบรมจะได้รับทักษะการออกแบบและเขียนโปรแกรม PLC Siemens ขั้นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้กับงานควบคุมในอุตสาหกรรมได้ ลักษณะการฝึกอบรม จะเป็นแบบบรรยายและฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมระบบอัตโนมัติ ประเมินวัดผลผู้เข้าอบรม กลุ่มเป้าหมายคือบุคคลทั่วไป/ช่างเทคนิค/พนักงานบริษัท จำนวน 20 คน โดยโครงการจัดขึ้นในวันที่ 16-19 สิงหาคม 2565 ณ อาคาร 18 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา มีอาจารย์วราภรณ์ ลือใจ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

กิจกรรมในวันที่ 16-17 สิงหาคม 2565 การบรรยายเรื่องความเป็นมาและการทำงานของ PLC,หลักการพื้นฐาน,โครงสร้าง และประเภท PLC, วิธีการเลือกใช้ PLC ให้เหมาะสมขั้นตอนการใช้งาน PLC , การเขียนโปรแกรม PLC อุปกรณ์ PLC ขั้นพื้นฐาน (Input , Output ,Internal Relay , Timer Counter) ฝึกปฏิบัติการเรื่อง การใช้โปรแกรม TIA Portal V15 การติดตั้งโปรแกรม,คำสั่งพื้นฐาน และคำสั่งขั้นสูง,การอ่านและเขียนโปรแกรมเข้าสู่ PLC,การตรวจสอบการทำงานของ PLC,ความรู้พื้นฐาน

กิจกรรมในวันที่ 18-19 สิงหาคม 2565 เป็นการฝึกปฏิบัติการเรื่อง การใช้โปรแกรม TIA Portal V15 (ต่อ) ฝึกปฏิบัติการ เรื่องเครื่องจักรกลอัตโนมัติในอุตสาหกรรมของชุด Mini Production Unit (MPU) การเชื่อมต่อสายสัญญาณ PLC เพื่อควบคุมระบบเจาะจ่ายชิ้นงาน (MPU-A) ฝึกปฏิบัติการเรื่องเครื่องจักรกลอัตโนมัติในอุตสาหกรรมของชุด Mini Production Unit (MPU) การเชื่อมต่อสายสัญญาน PLC เพื่อควบคุมระบบเจาะจ่ายชิ้นงาน (MPU-C)

 

          ในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมจำนวน 5 คน มีการทดสอบผู้เข้าร่วมโครงการหลังการอบรม ผู้ผ่านการทดสอบได้รับมอบเกียรติบัตรในการฝึกอบรมพื้นฐาน PLC Siemens และการออกแบบระบบควบคุมระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม ผลสำรวจความพึงพอใจ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น (SDGs) นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 4(Quality Education) โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายใต้สังกัดคณะ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 4.3.3 (Vocational training events (lifelong learning) ของบุคคลทั่วไป ภายนอกมหาวิทยาลัย

ข้อมูลจาก : พรพรรณ  สุขก้อน

จัดทำโดย : ดารุณี เวียงแกสินทรัพย์



Tag : #วศsdg4.3.1 #4.3.2 #4.3.3





140 ครั้ง

Address

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ )
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์/โทรสาร : 035-709081

การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 27 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 1248 ครั้ง
  • ปีนี้ : 11138 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 17452 ครั้ง

Copyright ©2020 RUS-SDGs | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ