⚙️โครงการวิจัย นวัตกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการสารกลุ่มยาในน้ำเสียของโรงพยาบาลในจังหวัดนนทบุรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีการสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐาน และสร้างความเข็มแข็งของงานวิจัยและการบริหารงานวิจัยของสถาบัน ความรู้และสถาบันวิจัยในหน่วยงาน Basic Resarch Fund (Blue sky) Program) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคมได้ดำเนินการใช้ความรู้ การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อจัดการกับปัญหาท้าทายเร่งด่วนสำคัญของประเทศในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงดำเนินการวิจัยในหัวข้อ “นวัตกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการสารกลุ่มยาในน้ำเสียของโรงพยาบาลในจังหวัดนนทบุรี” เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพระบบสาธิตถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรนเพื่อกำจัดสารกลุ่มยาร่วมกับไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ วิเคราะห์ปริมาณการปนเปื้อนยาในน้ำเสียโรงพยาบาล และผลของยาต่อเชื้อจุลินทรีย์ในระบบถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรน กำจัดสารกลุ่มยาร่วมกับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ออกแบบและสร้างระบบบำบัดแบบเมมเบรนที่ทำงานร่วมกับระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ การบำบัดสารกลุ่มยาที่ปนเปื้อนในน้ำเสียจากโรงพยาบาล เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดำเนินการอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม – เดือนธันวาคม 2565 ณ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี โดยมีอาจารย์นิติวิศว์ แตงไทย เป็นหัวหน้าโครงการ
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำมากขึ้น เนื่องจากเป็นประเทศเกษตรกรรมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการแหล่งน้ำต้นทุนรวมไปถึงแหล่งน้ำปลายน้ำ โดยคุณภาพของแหล่งน้ำที่จะบริหารจัดการนั้นต้องมีการปนเปื้อนมลพิษและเชื้อโรคต่างๆ ในปริมาณที่น้อยและสามารถนำน้ำจากแหล่งน้ำนั้นไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โรงพยาบาลเป็นแหล่งกำเนิดของเสียที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ สามารถแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกและแหล่งน้ำได้โดยน้ำเสียจากโรงพยาบาลเกิดจากการชำระล้างทำความสะอาดร่างกาย อุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือต่างๆ มีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์และอาจมีสารอันตราย ได้แก่ จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ยาที่มีองค์ประกอบที่เป็นอันตราย สารเคมีฆ่าเชื้อโรค และสารกัมมันตรังสี ซึ่งเกิดจากกิจกรรมการให้บริการรักษาผู้ป่วยถูกรับประมานเข้าไปในร่างกายจะมียาส่วนเกินที่ถูกขับถ่ายออกจากร่างกายในรูปสิ่งปฏิกูลของมนุษย์และออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยสิ่งปฏิกูลจะถูกส่งมาสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย โดยระบบบำบัดน้ำเสียไม่ได้ถูกออกแบบให้กำจัดสารประกอบและเคมีของยา จึงทำให้ยาและสารประกอบของยาปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ได้แก่ การเปลี่ยนเพศของปลา ความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ความเสี่ยงต่อแบคทีเรียดื้อยาในสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ยาที่ได้รับการยอมรับว่าเป้นสารก่อมลพิษที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Pollutants) ในช่วงสิบห้าปีที่ผ่านมา (Daughton and Ternes,1999) แต่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับการปล่อยทิ้งและ/หรือมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมสารเหล่านี้ถูกการออกแบบมีกิจกรรมทางชีววิทยาและเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมสารเหล่านี้สามารถกระตุ้นและส่งผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จัดเป้นสารปนเปื้อนที่อาจเป้นอันตรายมีการตกค้างและการแพร่กระจ่ายสู่สิ่งแวดล้อม (Mendoza et al.,2017) ปัจจุบันอัตราการใช้ยาในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งยาแผนปัจจุบันและแผนโบราณเพื่อรักษาโรคในคนและสัตว์ จากข้อมูลการสำรวจของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในปี 2555 พบการผลิตและนำเข้ายาเพิ่มขึ้นร้อยละ 88 จากปี 2550 นอกจากนี้พบว่ามีผุ้ป่วยซื้อยากินเองร้อยละ 15 ของผู้ป่วยทั้งหมด จากการศึกษาผลกระทบจากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในไทย โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลทุกระดับ และข้อมูลการติดเชื้อในโรงพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศ จำนวน 1,023 แห่ง ในปี 2553 พบว่าเชื้อจุลิลชีพ 5 ชนิดที่พบบ่อยในโรงพยาบาล ทำให้เกิดโรคติดเชื้อหลายระบบของร่างกาย เช่น โรคปอดบวม ติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นโดยทั่วไป ระบบบำบัดน้ำเสียไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้บำบัดมวลสารดังกล่าว ทำให้น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะมีสารกลุ่มยาและสารปนเปื้อนอื่นๆ ระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติไปด้วย น้ำเสียจากโรงพยาบาลมีสารมลพิษมากมายอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะมีความเป็นพิษมากกว่าน้ำทิ้งครัวเรือน 5-15 เท่า (Emmanuel et al.,2009) ระบบถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรนมีข้อดีเมื่อเปรียบเทียบกับระบบแบดั้งเดิมได้แก่ (จันทร์ทรงกรด,2550) คือ 1) สามารถกำจัดสารแขวนลอยได้อย่างสมบูรณ์ และสำหรับคุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดไม่ขึ้นกับเสถียรภาพของตะกอน 2) แบคทีเรียและไวรัสจะถูกกำจัดได้ด้วยตัวของเมมเบรนเอง โดยคุณสมบัติทางพลวัตของเมมเบรน(dynamic membrance) 3) จุลินทรีย์ที่เจริญเติบโตช้าสามารถรักษาไว้ในถังปฏิกรณ์ด้วยอายุตะกินที่นาน 4) จุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายสารพิเศษ สามารถเจริญเติบโตและดำรงชีพอยู่ได้ 5) ปริมาณของเอ็มแอลเอสที่มากกว่า จะทำให้มีขีดความสามารถในการบำบัดสูงและเกิดตะกอนส่วนเกินน้อยกว่า (จันทร์ทรงกรด , 2550) การทำงานของเมมเบรนมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในการเดินระบบสูง การดำเนินการบำบัดน้ำเสียต้องมีใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่น ไฟฟ้า สารเคมี และคนควบคุม เป็นต้น การใช้ทรัพยากรดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยในปัจจุบันนิยมการประเมินค่าผลกระทบสิ่งแวดล้อมออกมาในรูปการประเมินสิ่งแวดล้อมในรูปการประเมินก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยและการใช้ในน้ำการผลิตต่อหน่วย จากปัญหาดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาแนวทางในการจัดการน้ำเสียในโรงพยาบาลที่มีการปนเปื้อนยาแบบบูรณาการโดยทำการศึกษาและออกแบบระบบสาธิตถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรนร่วมกับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเป็นระบบต้นแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้แก่โรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นในการบำบัดน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนยา
ตลอดระยะเวลากิจกรรมดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมเป้นจำนวนทั้งสิ้น 15 คน และจากผลสำรวจความพึงพอใจพบว่าผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น (SDGs) นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 17 (Partnerships for the Goals) โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายใต้สังกัดคณะ สถาบัน และภายนอกมหาวิทยาลัย ในการเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนรับทราบและข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 17.2.4 (Collaboration for SDG best practice) อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนข้อ 6 (Clean water and Sanitation) แบะการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 7 (Affordable and clean Energy)ของบุคลากรภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย
ข้อมูลจาก : พรพรรณ สุขก้อน
จัดทำโดย : ดารุณี เวียงแกสินทรัพย์
Tag : #วศsdg17.2.5 #17.2.1 #17.2.2