⚙️โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ตำบลคลองขวาง (U2T for BCG) Tambon KlongKwang

SDG17

⚙️โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ตำบลคลองขวาง
(U2T for BCG) Tambon KlongKwang

          ด้วยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ดำเนินโครงการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ โดยการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในสถาบันอุดมศึกษาไปขับเคลื่อนทั้งในภาคการผลิตและบริการในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานของบัณฑิตที่พึ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ตำบลคลองขวาง ในระหว่างเดือนกรกฎาคม –  กันยายน 2565 โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ ประชาชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขวาง และหน่วยงานราชการภายในพื้นที่

          การสำรวจข้อมูล และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ณ วัดคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โดยมีอาจารย์เบญจวรรณ ปานแม้น อาจารย์กมลวรรณ แสงธรรมทวี อาจารย์วราภรณ์ บุตรจันทร์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรม และสมาชิกโครงการU2T พบว่าผู้ประกอบ ผู้ประกอบการ มาลัยบายศรีวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองขวาง และผู้ประกอบการบ้านสมุนไพรเอกอนันต์ ทั้งสองผลิตภัณฑ์ มีความต้องการที่จะพัฒนาป้ายสินค้าหรือโลโก้ และบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค้าให้แก่ผลิตภัณฑ์

          จากปัญหาและศักยภาพดังกล่าว โครงการนี้จึงมีแนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อใช้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ของผลิตภัณฑ์ มาลัยบายศรีวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองขวาง และบ้านสมุนไพรเอกอนันต์ ที่สอดคล้องต่ออัตลักษณ์ของพื้นที่ และนำไปสู่การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ และทำการตลาดช่องทางออนไลน์เพื่อยกระดับสินค้าโดยการมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการ และการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยมีรูปแบบการกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1) การศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น 2) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ที่เป็นนอัตลัษณ์ของท้องถิ่น 3) วิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ และ 4) การทำการตลาดช่องทางออนไลน์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

กิจกรรมที่ 1 การศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น จัดขึ้นในวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยมีอาจารย์ผู้จัดการตำบล จากสาขาสถาปัตยกรรมและสาขาภูมิสถาปัตยกรรม ได้แก่ อาจารย์เบญจวรรณ ปานแม้น อาจารย์กมลวรรณ แสงธรรมทวี อาจารย์วราภรณ์ บุตรจันทร์ อาจารย์พรชัย โลหะพิริยกุล  และอาจารย์ณัชชา โลหะพิริยกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสมาชิกของโครงการ บรรยายในหัวข้อ การศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ผลิตภัณฑ์

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ที่เป็นอัตลัษณ์ของท้องถิ่น จัดขึ้นในวันที่ 27 สิงหาคม 2565 เป็นการอบรมในหัวข้อ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ที่เป็นอัตลัษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งมีคุณลัคนา ผากา และคุณ กัญญ์ณภัค ทรัพย์สมบูรณ์ เป็นวิทยากร โดยมีอาจารย์ผู้จัดการตำบล จากสาขาสถาปัตยกรรมและสาขาภูมิสถาปัตยกรรม ได้แก่ อาจารย์เบญจวรรณ ปานแม้น อาจารย์กมลวรรณ แสงธรรมทวี และอาจารย์วราภรณ์ บุตรจันทร์ รวมทั้งสมาชิกของโครงการU2T และผู้ประกอบการทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ คุณธีราพร นาคประดิษฐ์ คุณวรรณทิพย์ แซ่เตียว ทั้งนี้ยังมีหน่วยงานของรัฐอันได้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขวาง เข้าร่วมรับฟังการอบรมในครั้งนี้ด้วย

กิจกรรมที่ 3 วิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ มาลัยบายศรีวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองขวาง ยอดขายสินค้าต่อเดือน 11,100 บาท ต้นทุนการผลิต 5,584.8 บาท กำไรสุทธิ 5,515 บาท หรือคิด ROI 12.83 % บ้านสมุนไพรเอกอนันต์ ยอดขายสินค้าต่อเดือน 56,000 บาท ต้นทุนการผลิต 28,000 บาท กำไรสุทธิ 28,000 บาท หรือคิด ROI 57.88%           

กิจกรรมที่ 4 การทำการตลาดช่องทางออนไลน์  

     

          ตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 15 คนกิจกรรมโครงการของตำบลคลองขวางดังกล่าวสามารถตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Goal) ได้แก่ 1) Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน  2) Responsible Consumption and Production รับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน 3) Life on Land ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน 3) Peace and Justice Strong Institutions ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนายั่งยืน ตลอดจนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนอันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยื่นข้อ 8 (Decent Work and Economic Growth)  ส่งเสริม และผลักดันเศรษฐกิจ BCG ของพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันเป็นการส่งเสริมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ของนักศึกษา บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี

 

ขอขอบคุณ

ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ มาลัยบายศรีวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองขวาง และบ้านสมุนไพรเอกอนันต์ นายธนกฤต จิรมนตราและนางจันทร์ นุชอุดม ตำบลคลองขวาง จังหวัดนนทบุรี

ข้อมูลจาก : พรพรรณ  สุขก้อน

จัดทำโดย : ดารุณี เวียงแกสินทรัพย์



Tag : #วศsdg17.4.3 # 17.2.2





133 ครั้ง

Address

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ )
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์/โทรสาร : 035-709081

การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 227 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 5111 ครั้ง
  • ปีนี้ : 15740 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 22055 ครั้ง

Copyright ©2020 RUS-SDGs | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ