คณะศิลปศาสตร์ จัดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

SDG4 SDG4.3 SDG4.3.4 SDG17.1 SDG17.4 SDG17.4.3

        คณะศิลปศาสตร์ ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ให้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นนโยบายของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน รวมทั้งวิทยาลัยชุมชน ซึ่งกระจายทั่วทุกภูมิภาคที่มีความพร้อมทางด้านความรู้และความเชี่ยวชาญของบุคลากรและเทคโนโลยีได้ช่วยพัฒนาการเรียนการสอน ลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษา ให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขยายโอกาสในเขตพื้นที่ ตามความต้องการของโรงเรียน ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิเป็นสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายภาคกลางตอนบน ได้เข้าร่วมโครงการจนถึงปัจจุบันรวม 8 ปี มีผลการดำเนินงานและความสำเร็จในการช่วยพัฒนาครูให้สามารถพัฒนากระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน และเชื่อมโยงกับท้องถิ่นทั้งเชิงวิชาการและการงานอาชีพตามความต้องการของโรงเรียนและท้องถิ่น ส่งผลให้ครู นักเรียน และชุมชนสามารถแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนการสอนได้ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ตามบริบทของชุมชนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีที่ผ่านมา โดยเริ่มดำเนินโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (เดือนตุลาคม 2565   ถึงเดือนกันยายน 2566) มีโครงการเข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 8 โครงการ (แบ่งเป็น 9 โรงเรียน) กระจายอยู่ในจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้      

        กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดค้นและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาตนเอง ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน จำนวน 4 โครงการ ได้แก่

       โครงการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Active Learning เป็นฐานเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตสื่อการสอนของโรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า และโรงเรียนธัมมสิริศึกษานนทบุรี เป็นการจัดกิจกรรมการผลิตสื่อออนไลน์ที่ทันสมัยให้เหมาะสมกับผู้เรียนในรูปแบบการสร้างเว็บไซต์ห้องเรียนออนไลน์ (Google Sites) และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาบทเรียนเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียน (Sharing Day) ระหว่างโรงเรียนชุมชนวัดไทรม้าและโรงเรียนธัมมสิริศึกษานนทบุรี และการบูรณาการนาความรู้จากห้องเรียนสู่ชุมชน ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์เชิงสุขภาพด้วยการปั่นจักรยาน (Bike for Active Learning) ร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชนใกล้เคียง

         โครงการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจาวันเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะชีวิตของโรงเรียนวัดเสาธงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นกิจกรรมอบรมทักษะการสอนภาษาอังกฤษแบบใช้ English Camp (STK English Camp) เป็นฐานการเรียนรู้ และนักเรียนสามารถเรียนรู้ภาษาจากการสอนของครู ได้แก่ กิจกรรม English all day และกิจกรรมการท่องศัพท์พื้นฐานในชีวิตประจำวัน (Read for Life)

          โครงการเรียนรู้ภาษาจีนในชีวิตประจาวันเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะชีวิต ให้กับโรงเรียนวัดศาลากุล จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นกิจกรรมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาจีนเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการ วิชาชีพและทักษะชีวิตของนักเรียน และการร่วมกันทำสื่อประกอบการเรียนการสอนและภาพ พร้อมคำอธิบายขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์จากชุมชนเป็นภาษาจีน นักเรียนสามารถเรียนรู้ภาษาจีนจากการสอนของครู  ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ศัพท์ภาษาจีนจากภาพ และกิจกรรมการท่องศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานในชีวิตประจำวัน

                 โครงการพัฒนา “สวนผักพอเพียง” ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ให้กับนักเรียนโรงเรียนวัดคลองตาคล้าย จังหวัดนนทบุรี โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พื้นฐานการเกษตร เกษตรปลอดภัย และการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงออกแบบ ความสามารถและทักษะในการทำการเกษตรปลอดภัย ความสามารถและทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ การจัดทำแผนการเรียนรู้ การออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงออกแบบได้ และมีแผนการเรียนรู้ และสื่อเพื่อการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงออกแบบที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้จริงและมีการใช้จริง ทักษะในการปลูกผักปลอดสาร และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพมีทักษะการคิดเชิงออกแบบ การศึกษาพื้นที่และปัญหาชุมชนและโรงเรียน การระบุปัญหาและกรอบของปัญหาชุมชนและโรงเรียน การหาแนวทางการแก้ไขและการวางแผน ออกแบบและการสร้างต้นแบบสวนผักพอเพียง และการทดสอบต้นแบบสวนผักพอเพียง เพื่อนำไปสู่การสร้าง/พัฒนา “สวนผักพอเพียง” ของโรงเรียนและมีแหล่งเรียนรู้ “สวนผักพอเพียง”

                กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิชาการ วิชาชีพและทักษะชีวิต เพื่อสร้างรายได้ สร้างอาชีพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน จำนวน 4 โครงการ ดังนี้

                โครงการพัฒนาการเรียนรู้การท่องเที่ยวในชุมชนโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ท้องถิ่นของโรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการด้วยกิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยว และสามารถพัฒนานักเรียนให้เกิดทักษะความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดค้นและเสนอแนวทางในการพัฒนาอาชีพตนเอง และกิจกรรมสร้างหลักสูตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่สร้างร่วมกันกับสถาบันพี่เลี้ยง และครอบครัวได้ นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพมัคคุเทศก์และสามารถนำเที่ยวจริง ซึ่งเป๋นการสร้างการเชื่อมโยง  3 ฝ่าย คือ อบต.เกาะเกร็ด  โรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

                โครงการนวัตกรรมบริการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น และทักษะอาชีพต่าง ๆ ในชุมชน โรงเรียนวัดแดง (นนทคุณพิพัฒน์ราษฎร์อุปถัมภ์) จังหวัดนนทบุรี โดยการนำนวัตกรรมซึ่งเป็นสื่อออนไลน์มาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในชั่วโมงกิจกรรมหรือชมรม หรือชั่วโมงวิชาการงานและอาชีพ สำหรับพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น และฝึกทักษะอาชีพต่าง ๆ ให้กับครู และนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา นำสื่อออนไลน์มาใช้ประกอบในการบริการทางวิชาการโดยจัดเป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น สำหรับพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นและฝึกทักษะอาชีพต่าง ๆ ให้กับผู้สนใจในชุมชน ซึ่งโรงเรียนได้รับการยอมรับเป็นศูนย์การเรียนรู้ สำหรับการให้บริการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาจีนและญี่ปุ่น และฝึกทักษะอาชีพต่างๆ ให้กับผู้สนใจในชุมชน ด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัยอย่างเป็นรูปธรรม

                โครงการศูนย์การเรียนรู้และนวัตกรรมบริการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น และทักษะอาชีพมัคคุเทศก์ในชุมชน โรงเรียนวัดใหญ่สว่างอารมณ์ จังหวัดนนทบุรี โดยการนำนวัตกรรมสื่อออนไลน์มาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในชั่วโมงกิจกรรมหรือชมรม หรือชั่วโมงวิชาการงานและอาชีพ สำหรับพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น และฝึกทักษะอาชีพมัคคุเทศก์ให้กับครู และนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา การนำสื่อออนไลน์มาใช้ประกอบในการบริการทางวิชาการโดยจัดเป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น สำหรับพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น และฝึกทักษะอาชีมัคคุเทศก์ให้กับผู้สนใจในชุมชน ซึ่งโรงเรียนได้รับการยอมรับเป็นศูนย์การเรียนรู้ สำหรับการให้บริการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาญี่ปุ่น และฝึกทักษะอาชีพมัคคุเทศก์ให้กับผู้สนใจในชุมชน ด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัยอย่างเป็นรูปธรรม

                   โครงการนวัตกรรมบริการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาจีน และทักษะอาชีพค้าขายขนมไทยในชุมชน โรงเรียนวัดสิงห์ทอง จังหวัดนนทบุรี โดยการนำนวัตกรรมมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีน และฝึกทักษะอาชีพทำและค้าขายขนมไทยให้กับครู และนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา การนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาจีน และฝึกทักษะอาชีพทำและค้าขายขนมไทยให้กับผู้สนใจในชุมชน ซึ่งโรงเรียนได้รับการยอมรับเป็นศูนย์การเรียนรู้ และบริการฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาจีน และฝึกทักษะอาชีพทำและค้าขายขนมไทยให้กับผู้สนใจในชุมชนด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัย

                ตลอดระยะเวลาการจัดโครงการ มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 741 คน แบ่งเป็นมีครูที่ได้รับการพัฒนา จำนวน 105 คน  และนักเรียนจำนวน 636 คน และจากผลการสำรวจความพึงพอใจพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการ                      มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น (SDGs) นับว่าเป็นความร่วมมือที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 17 (Partnerships for the Goals) โดยได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายใต้สังกัดคณะ และส่วนงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขยายโอกาสในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการเข้าร่วมโครงการตลอด 8 ปี และกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนระหว่างสถานศึกษาและหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนรับทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน จาการจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กไทย กิจกรรมพัฒนรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 4



หน่วยงาน : ศิลปศาสตร์





7 ครั้ง

Address

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ )
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์/โทรสาร : 035-709081

การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 211 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 5095 ครั้ง
  • ปีนี้ : 15724 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 22038 ครั้ง

Copyright ©2020 RUS-SDGs | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ