ความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน กรณีศึกษา นิคมกระเสียวและนิคมลพบุรี

SDG2 SDG4 SDG4.3 SDG4.3.4

เป้าหมายที่ 2: ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

     การยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเกษตรและอาหารปลอดภัย คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ร่วมกับนิคมสร้างตนเองดำเนินโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาทุนมนุษย์สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสังคมและส่งเสริมอัตลักษณ์ (นิคม Next) สนับสนุนโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและพัฒนาสินค้าต้นแบบจากผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนพื้นที่นิคมสร้างตนเองกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี และนิคมสร้างตนเองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

"กระเสียวโมเดล"  

   นิคมสร้างตนเองกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี  ประกอบด้วยกิจกรรม

  • กิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชทางเลือก (ตะไคร้)
  • กิจกรรมการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด
  • กิจกรรมบริการสุขภาพโคและแพะ
  • กิจกรรมการแปรรูปขนมเบเกอรี่และน้ำพริก

 

"ลพบุรีโมเดล"

นิคมสร้างตนเองลพบุรี อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วยกิจกรรม

  • กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์โคและแพะ
  • กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย
  • กิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรทางเลือก (การปลูกหัวไชเท้า)
  • กิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหัวไชเท้า

 

   

     ผลการดำเนินโครงการทำให้ชุมชนบรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืนนอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดิบอาหารในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในมิติเศรษฐกิจในการสร้างงานสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่สมาชิกอย่างยั่งยืน

 



Tag : #SDGs2.5 #SDGs2.5.1 #SDGs2.5.2 #SDGs4.3.4

หน่วยงาน : เทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร



ข้อมูลจาก : คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร


23 ครั้ง

Address

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ )
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์/โทรสาร : 035-709081

การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 150 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 5034 ครั้ง
  • ปีนี้ : 15663 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 21980 ครั้ง

Copyright ©2020 RUS-SDGs | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ