โครงสร้างพื้นฐานถือว่ามีส่วนสำคัญในการเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม สิ่งปลูกสร้าง ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และส่งเสริมความปลอดภัยต่อบุคลากร นักศึกษา ในกิจกรรมต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา เป็นหนึ่งในเก้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมีพื้นที่การศึกษา 4 แห่ง ได้แก่ 1. ศูนย์หันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. ศูนย์วาสุกรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3. ศูนย์นนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ 4. ศูนย์สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ศูนย์หันตราเป็นวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุดของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ 975,129 ตารางเมตร ซึ่งมีพื้นที่สีเขียวประมาณ 35.59 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ใช้สอยประมาณ 268,067 ตารางเมตร อัตราส่วนพื้นที่เปิดโล่งต่อพื้นที่ทั้งหมด: 91.0 เปอร์เซ็นต์ แหล่งน้ำผิวดิน 0.1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้เปรียบกว่าศูนย์อื่นๆ ของมหาวิทยาลัยฯ มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่น
- โรงเรือนปลูกผักปลอดสารพิษ สำหรับบริโภคบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย
- ศูนย์วิจัยข้าว
- ศูนย์อนุรักษ์พันธุพืช
- ศูนย์วิเคราะห์การปรับปรุงดิน น้ำ และดินเพื่อการเกษตร
- การนำเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ (มาใช้กับอาคารเรียน และงานวิจัย)
- รถจักรยานไฟฟ้าสำหรับนักศึกษา ใช้สัญจรมาภายในมหาวิทยาลัย
- ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทางด้านนวัตกรรม
- ส่งเสริมด้านความปลอดภัย
จากตัวอย่างที่กล่าวมา มหาวิทยาลัยยังตั้งเป้าความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emissions) เพื่อให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต รองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน
Tag : #โครงสร้างพื้นฐาน # เทคโนโลยี # นวัตกรรม # มหาวิทยาลัยสีเขียว # มหาวิทยาลัยยั่งยืน # ราชมงคลสุวรรณภูมิ # SDG Green U # UI Green Metric