โครงการพัฒนานวัตกรธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
(SMEs & Start Up Thailand)
กิจกรรมที่ 3 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และประกาศผลรางวัล
เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ส.ค. 2567 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิด โครงการพัฒนานวัตกรธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
(SMEs & Start Up Thalland) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย อรัญชัย คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์
สุพรรณบุรี, ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, นายทรงพล ทิมาศาสตร์ อดีต ผวจ.สุพรรณบุรี และภาคเอกชน
พร้อมผู้ประกอบการ นักศึกษา ประชาชน และผู้สนใจ เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โครงการพัฒนานวัตกรธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก (SMEs & Start Up Thailand)
กิจกรรมที่ 3 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และประกาศผลรางวัล ครั้งนี้ ตามที่คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนานวัตกรธุรกิจขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ฐานราก (SMEs & Start Up Thailand) กิจกรรมในครั้งนี้ มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และประกาศผลรางวัล โดยพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
มีดังนี้
- ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถานศึกษาสังกัดสโมสรอินเตอร์แรคท์ จำนวน 9 หน่วยงาน
- ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถานศึกษา และหน่วยงานภาคเอกชน (ภายใต้หน่วยสหกิจศึกษาและฝึกงาน) จำนวน 5 หน่วยงาน
- ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับผู้สนับสนุนโครงการพัฒนานวัตกรธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก (SMEs & Start Up Thailand) จำนวน 4 หน่วยงาน
การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อบ่มเพาะ Start Up และผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการยกระดับธุรกิจ
- เพื่อบูรณาการภารกิจแต่ละภาคส่วนในการต่อยอดขยายผลโครงการ การจัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมในประเทศให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรม
- เพื่อจัดตั้งศูนย์บริการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาผู้ประกอบการในพื้นที่
- เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านวิชาชีพของบุคลากรระหว่าง หน่วยงานและร่วมพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพ
- เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนกลุ่มสโมสรอินเตอร์แรคท์ในเครือข่ายสโมสรโรตารี่สุพรรณิการ์ ได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
- เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาหลักสูตรในรูปแบบที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่าง การศึกษาขั้นพื้นฐานกับอุดมศึกษา ผ่านระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) และ หลักสูตร (Non Degree) ประกอบไปด้วย แบบรายวิชา แบบฝึกอบรม และแบบชุดวิชา ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- เพื่อให้นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ สามารถเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียน และการปฏิบัติการสอน
- เพื่อประชาสัมพันธ์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
การจัดโครงการครั้งนี้ มีผู้สมัครทั้งสิ้น 112 กิจการ ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจำนวน 60 กิจการ ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบที่สอง จำนวน 40 กิจการ และคัดเลือกเหลือ จำนวน 23 กิจการ จากการดำเนินงานจนถึงรอบสุดท้ายที่ผ่านมา คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะมีการประกาศผลผู้ชนะการแข่งขัน SMEs & Start Up Thailand 2024 จาก ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 16 ทีม คัดเลือกเหลือจำนวน 4 ทีม โดยผู้ชนะการแข่งขันจะได้รับเงินสนับสนุน การลงทุน จำนวนเงิน 1,000,000 บาท จำนวน 2 ทีม และ จำนวน 500,000 บาท จำนวน 2 ทีม ซึ่งทางโครงการพัฒนานวัตกรธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก (SMEs & Start Up Thalland) หวังว่าจะส่งเสริมผู้ประกอบการ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เจริญรุดหน้าขึ้นไป
กนกวรรณ : ภ่ายภาพ / รายงาน
ข.115 / ส.ค. 2567