บัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรที่ตอบโจทย์การพัฒนาคน สู่การเปลี่ยนแปลงประเทศ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และบรรจุภัณฑ์อาหารสู่การรับรองมาตรฐานของวิสาหกิจชุมชนเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์”

SDG4 SDG4.3 SDG4.3.1 SDG4.3.2 SDG4.3.3

รัฐมีนโยบายในการพัฒนากำลังคน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาประเทศสู่ ไทยแลนด์ 4.0 นอกเหนือจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ยังมีกลุ่มเกษตรอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการ SME อาหาร ที่ต้องได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมในด้านความรู้ไปด้วยกัน ซึ่งธุรกิจระดับ SME ถือเป็นฐานรายได้สำคัญของชุมชน และส่งออกในระดับประเทศ จึงต้องมีการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการจาก SME เดิมให้เป็น Smart SME และเป็น Start Up  คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จึงได้จัดหลักสูตร “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และบรรจุภัณฑ์อาหารสู่การรับรองมาตรฐานของวิสาหกิจชุมชนเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์” เป็นหลักสูตรภายใต้โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ซึ่งเป็นหลักสูตรประเภทประกาศนียบัตร (Non-degree) ที่ผ่านความเห็นชอบและได้รับการสนับสนุนจากกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
เริ่มจัดการเรียนการสอนในรุ่นที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ – 1 มิถุนายน 2567 โดยเป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นจากอาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ลงพื้นที่ให้บริการวิชาการและวิจัยกลุ่มผู้ประกอบการด้านเกษตรและอาหาร ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นนทบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เป็นต้น พบปัญหาที่คล้ายกัน คือ ผู้ประกอบการยังติดปัญหาบางประการ ไม่สามารถพัฒนาธุรกิจให้สำเร็จเติบโตได้ เนื่องจากขาดความรู้ ทักษะทางด้านการแปรรูปอาหาร การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพ มาตรฐาน และการตลาด ประกอบกับกระทรวง อว. มีนโยบายให้ทุกมหาวิทยาลัย พัฒนากำลังคนในภาคอุตสาหกรรม ให้มีความพร้อมในการพัฒนาประเทศ  

หลักสูตรมีการจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยรับผู้เรียนรุ่นละ 40 คน เป็นบุคคลทั่วไปที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือ ปวช./ ปวส. และปริญญาตรี (หากต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สามารถเก็บสะสมหน่วยกิต มาเทียบโอนได้ โดยเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิเรื่องการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษา พ.ศ. 2566 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิว่าด้วยการดำเนินงานระบบคลังหน่วยกิต พ.ศ. 2566 และประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือกลุ่มผู้ประกอบการด้านอาหารที่มีความสนใจหรือเจ้าของธุรกิจด้านอาหาร และต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มาตรฐาน และต้องการต่อยอดเชิงพาณิชย์ หรือผู้ที่มีความรู้และความสามารถที่หลักสูตรประเมินแล้วว่าสามารถเรียนรู้ได้ ใช้ระยะเวลาเรียน 285 ชั่วโมง หรือประมาณ 15 สัปดาห์ และแบ่งเป็นการเรียนภาคทฤษฎี 60 ชั่วโมง และเรียนภาคปฏิบัติ 225 ชั่วโมง เน้นเรียนในวันเสาร์และอาทิตย์ ณ อาคาร 10 อาคาร 19 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร อาคาร 24 คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ และอาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา ซึ่งเป็นการพัฒนาหลักสูตรและการอบรมผู้เรียนจากความร่วมมือของอาจารย์จากคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรและคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับผู้ประกอบการภาคธุรกิจอาหารในการจัดการเรียนการสอน และมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาร่วมให้ความรู้ โดยมีสถานประกอบการร่วมพัฒนาหลักสูตรและเป็นวิทยากร ได้แก่ บริษัท บีเค สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เต่าเล่า ฟู้ดส์ อินโนเวชั่น การเรียนมีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ประกอบด้วย 5 รายวิชา ได้แก่ ทักษะการแปรรูปอาหารเบื้องต้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ทักษะการเป็นผู้ประกอบการทางด้านอาหาร การประกันคุณภาพและสุขาภิบาลอาหาร และมาตรฐานและการขอรับรองมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งมีการศึกษาดูงาน และปฏิบัติงานในสถานประกอบการด้านอาหารอาทิ โรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ของวิสาหกิจชุมชนกสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี บริษัท เนเจอร์ไลน์ พลัส จำกัด วิสาหกิจชุมชนสุรากลั่นบ้านเต่าเล่า และห้างหุ้นส่วนจำกัดเต่าเล่าฟูดส์ อินโนเวชั่น

อีกทั้งยังมีการการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เป็นผลผลิตจากโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ และผลิตภัณฑ์ของผู้เรียนที่นำมาจัดแสดงในงานแสดงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารภายใต้โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ หลักสูตร “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และบรรจุภัณฑ์อาหารสู่การรับรองมาตรฐานของวิสาหกิจชุมชนเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ รุ่นที่ 1” และพิธีปิดโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ ระหว่างวันที่ 1 - 2 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนและผู้ประกอบการที่ร่วมเรียนในหลักสูตรได้นำผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้จากการเรียนในโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ จำนวน 8 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องดื่มน้ำมะม่วงโซดาผสมคาเวียร์มะม่วง กระยาสารทแครนเบอร์รี่ ขนมเยลลี่ผสมน้ำนมข้าวทับทิมชุมแพ 20% เสริมผงแมลงสะดิ้ง ผงโรยข้าว ขนมเยลลี่เจลาตินผสมน้ำมะขามป้อม 20% สแน๊คข้าวเหนียวผสมเนื้อขนุนอบกรอบ ปลาทอดกรอบปรุงรส รสต้มยำ และไส้กรอกเยอรมัน รวมทั้งผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผู้เรียนมีอยู่มาทดสอบตลาดกับผู้บริโภคทั่วไปผ่านการปฏิบัติในสถานการณ์จริง พบว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบและผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่ร่วมเรียนในหลักสูตรฯ ได้รับผลการตอบรับจากผู้เยี่ยมชมงานและผู้บริโภคเป็นอย่างดี ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด เกิดความภาคภูมิใจในผลิตภัณฑ์และสินค้าของตน ทำให้เกิดกำลังใจที่จะนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผู้เรียนมีการนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ได้แก่ กระยาสารทแครนเบอร์รี่ ขนมเยลลี่เจลาตินผสมน้ำมะขามป้อม 20% สแน๊คข้าวเหนียวผสมเนื้อขนุนอบกรอบ และไส้กรอกเยอรมัน



Tag : #ทอ.sdgs4.3.1 # ทอ.sdgs4.3.2 # ทอ.sdgs4.3.3 # บัณฑิตพันธุ์ใหม่ # พัฒนาผลิตภัณฑ์ # กระบวนการผลิต # บรรจุภัณฑ์อาหาร

หน่วยงาน : เทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร



ข้อมูลเพิ่มเติม : https://agri.rmutsb.ac.th/content/21

ข้อมูลจาก : ผู้เขียนข่าวกองบรรณาธิการ วารสารเกษตรหันตรา ผู้รายงานนางสาวอมนตรา ดนุจโรจน์


19 ครั้ง

Address

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ )
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์/โทรสาร : 035-709081

การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 200 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 5084 ครั้ง
  • ปีนี้ : 15713 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 22026 ครั้ง

Copyright ©2020 RUS-SDGs | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ