บัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรผลิตกำลังคนด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ “การบังคับและการซ่อมบำรุงอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตรแม่นยำ”

SDG4 SDG4.3 SDG4.3.1 SDG4.3.2 SDG4.3.3

ปัจจุบันการใช้งานโดรนทางการเกษตรในประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นมากกว่า 10,000 ลำต่อปี (สมาคมโดรนเกษตรประเทศไทย) มีการนำมาใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตร แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1. ใช้ในการสำรวจ วางแผนและถ่ายภาพแปลงเพาะปลูก เพื่อสังเกตการเจริญเติบโตและอาการผิดปกติของพืช และ 2. ใช้ในการทุ่นแรง เช่น การหว่านเมล็ดพืช ฉีดพ่นปุ๋ย และสารกำจัดศัตรูพืช แต่ในด้านการซ่อมบำรุง ยังขาดบุคลากรในด้านนี้ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จึงได้จัดหลักสูตร การบังคับและการซ่อมบำรุงอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตรแม่นยำ เป็นหลักสูตรประเภทประกาศนียบัตร (Non-degree) ภายใต้โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบเพื่อสร้างกำลังคนที่มีทักษะและสมรรถนะ ที่สอดรับกับพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 โดยหวังว่าจะทำให้เกิดการแปลงรูปแบบการผลิตบัณฑิต ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนหลักสูตร (Transforming Curriculum) การปรับรูปแบบการจัดการศึกษา การบริหารจัดการภายในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดระบบนิเวศการจัดการอุดมศึกษาใหม่ในการผลิตและสร้างกำลังคนของสถาบันอุดมศึกษาไทยอย่างยั่งยืน ที่ต้องตอบโจทย์การผลิตกำลังคนตามความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งานจริง คือ สถานประกอบการ ภาคอุตสาหกรรม สังคมและชุมชน โดยเข้ามามีบทบาทในการร่วมกันตั้งแต่กระบวนการออกแบบหลักสูตร การร่วมกันจัดการเรียนการสอน และการติดตามและประเมินผล ซึ่งจะเป็นการร่วมกันรับผิดชอบ (Shared Responsibility) ในการผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลังคน ตลอดจนมีการบริหารจัดการหลักสูตรด้วยการควบคุมคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่จะส่งมอบกำลังคน เพื่อการปฏิรูปประเทศไทยให้หลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่เน้นกลุ่มอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพและพลังงานทางเลือก เพื่อผลิตกำลังคนให้ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมหรืองานประเภทใหม่ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยการเพิ่มศักยภาพกำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการจริง และเป็นการเพิ่มพูนและปรับเปลี่ยนทักษะให้กับกลุ่มวัยแรงงานตั้งแต่ก่อนเกษียณและกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานและรับมือกับการเป็นสังคมสูงวัยของประเทศ โดยหลักสูตรจะมุ่งเน้นการบังคับและซ่อมบำรุงโดรนทางการเกษตร เริ่มจัดการเรียนการสอนในรุ่นที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม – 26 สิงหาคม 2567 หลักสูตรมีการจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยรับผู้เรียนรุ่นละ 40 คน เป็นบุคคลทั่วไปที่ ใช้ระยะเวลาเรียน 315 ชั่วโมง หรือประมาณ 16 สัปดาห์ แบ่งเป็นภาคทฤษฎี 45 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 270 ชั่วโมง เน้นเรียนในวันเสาร์และอาทิตย์ ณ ห้อง 237 อาคาร 2 สาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา และสถานประกอบการเอกชน โดยมีสถานประกอบการร่วมพัฒนาหลักสูตรและเป็นวิทยากร ได้แก่ บริษัทHG Robotic และ บริษัท ดี.เจ.ไอ. นครสวรรค์ จำกัด ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญจริงจากสถานประกอบการ เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาที่มุ่งให้บุคคลเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง และเพิ่มศักยภาพกำลังคน ให้ตอบโจทย์ความต้องการจริง เป็นการเพิ่มพูนและปรับเปลี่ยนทักษะให้กับกลุ่มวัยแรงงานตั้งแต่ก่อนเกษียณและกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานและรับมือกับการเป็นสังคมสูงวัยของประเทศ ส่งผลมีความงอกงามทาง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จนเป็นผู้ที่มีคุณภาพของสังคมในปัจจุบัน



Tag : #ทอsdg4.3.1 # ทอsdg4.3.2 # ทอsdg4.4.3 # บัณฑิตพันธุ์ใหม่ # โดรน

หน่วยงาน : เทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร



ข้อมูลจาก : ผู้รายงาน นางสาวอมนตรา ดนุจโรจน์


14 ครั้ง

Address

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ )
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์/โทรสาร : 035-709081

การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 57 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 4941 ครั้ง
  • ปีนี้ : 15570 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 21886 ครั้ง

Copyright ©2020 RUS-SDGs | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ