การใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อจัดการน้ำในพื้นที่การเกษตรเพื่อและลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร (คอ)

SDG6

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม  มีนโยบายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ด้านการพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทนเป็นพลังงานที่สะอาดไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทนได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม เป็นต้น พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาใช้ได้ในทุกพื้นที่ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม จึงได้ดำเนินโครงการใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อจัดการน้ำในพื้นที่การเกษตรเพื่อและลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เมื่อวันที่  24  มีนาคม 2565  โดยมีวัตถุประสงค.เพื่อออกแบบสร้างและใช้พลังงานเซลล์พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานทดแทน ในการจัดน้ำในพื้นที่การเกษตรเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และเพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี กิจกรรมประกอบด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ทางด้านการเกษตร  โครงการดังกล่าวจัดขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตรพระราชา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยมีอาจารย์วิชัย นระมาตย์  หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้  มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 50 คน บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวสามารถนำมาใช้ได้  ในทุกพื้นที่การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ระบบ คือ ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภานในอาคาร และระบบผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์



รูปภาพเพิ่มเติม : -

Tag : #คอsdg6.5.1 # คอsdg6.5.3 # คอsdg6.5.5

หน่วยงาน : ครุศาสตร์อุตสาหกรรม



ข้อมูลจาก : รมิดา พิมพ์สี


94 ครั้ง

Address

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ )
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์/โทรสาร : 035-709081

การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 27 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 1248 ครั้ง
  • ปีนี้ : 11138 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 17452 ครั้ง

Copyright ©2020 RUS-SDGs | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ