คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

SDG4 SDG17

                                                                                           

                                                   

ดร.เจษฎา จันทร์ผา คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่มีความครอบคลุม ตามปัญหาและความต้องการของชุมชนและเกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ก่อให้เกิดกิจกรรมการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการชุมชนถึงมือผู้บริโภคโดยตรง และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมี ผศ.ดร.ภาสพิรุฬห์ วัชรศรีสำเริง รองอธิการบดี เป็นประธานเปิดโครงการ โดยมีนายกฤต ศกุนตะเสถียร กรรมการผู้จัดการ (Managing Director) พร้อมด้วย Mr.Jason Chen Shen Tatt หุ้นส่วนผู้จัดการ (Managing Partner) จากบริษัทเซน ไบโอเทค (โกลบอล) จำกัด และนางสาวนุชนาถ คุ้มกลาง (ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาองค์กร) จากโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย เสวนา และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเขียนแผนธุรกิจและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ การเขียนแผนธุรกิจรายตำบล ตลอดจนการเสวนาการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เมื่อวันพุธที่ 21 กันยายน 2566 เวลา 9.00 – 16.45 น. ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
ทั้งนี้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับผิดชอบบริหารจัดการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ในพื้นที่ตำบลในเขต จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดลพบุรี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดชัยนาท รวมทั้งสิ้น 35 ตำบล โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 - วันที่ 30 กันยายน 2565 รวมระยะเวลา 3 เดือน โดยบริหารจัดการ แบ่งออกตามศูนย์พื้นดูแล ดังนี้
       1. ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา ดูแลตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวม   9 ตำบล
                                              ดูแลตำบลในจังหวัดอ่างทอง            รวม 13 ตำบล
                                              ดูแลตำบลในจังหวัดลพบุรี               รวม   1 ตำบล
       2. ศูนย์นนทบุรี                     ดูแลตำบลในจังหวัดนนทบุรี              รวม   7 ตำบล
       3. ศูนย์สุพรรณบุรี                  ดูแลตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี           รวม   3 ตำบล
                                              ดูแลตำบลในจังหวัดชัยนาท              รวม   2 ตำบล
                                                                                   รวมทั้งสิ้น 35 ตำบล

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเขียนแผนธุรกิจและปรับปรุงคุณหภาพผลิตภัณฑ์ ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ของ 35 ตำบล ซึ่งมีผลิตภัณฑ์นำมาร่วมแสดงบูธ มากกว่า 70 รายการและหนึ่งในผลิตภัณฑ์นี้มีทีมตำบลหัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ได้รับรางวัลชนะเลิศ ด้านสุขภาพและการแพทย์ ในการแข่งขันแฮกกาธอนรอบภูมิภาค เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน ในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล ชื่อ บาล์มสมูท ครีมนวดสมุนไพร แบบโฟมสมูท , บาล์มสมูท ครีมนวดสมุนไพร แบบสูตรร้อน และแบบสูตรเย็น

 

                                           

                                             

                                             

                                             

                                             

 

 



Tag : #วทsdg4.3.4 # วทsdg17.2.1

หน่วยงาน : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



ข้อมูลจาก : กล้าณรงค์ วงศ์พิทักษ์ และคณะ


65 ครั้ง

Address

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถ.สายเอเซีย (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ )
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์/โทรสาร : 035-709081

การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 278 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 5162 ครั้ง
  • ปีนี้ : 15791 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 22105 ครั้ง

Copyright ©2020 RUS-SDGs | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ